Share this page:

“อารมณ์ดี” มีผลต่อการออกกำลังกายด้วยนะ

หากทุกวันนี้ คุณต้องการออกกำลังกายให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดแล้วล่ะก็ เราขอแนะนำให้เป็นคนควบคุมอารมณ์ของตัวเองให้ดีด้วย


ทุกคนคงรู้กันดีอยู่แล้วว่า “การออกกำลังกายนั้นส่งผลต่ออารมณ์” เมื่ออ่านประโยคนี้ย้อนกลับก็ยังคงเป็นความจริงอยู่ดี นั่นคือ อารมณ์อาจส่งผลต่อการออกกำลังกายของคุณด้วยเช่นกัน


อารมณ์ไม่ได้เป็นความรู้สึกที่ไหลผ่านตัวคุณเท่านั้น เพราะหากคุณไม่ควบคุมอารมณ์ให้ดี มันจะยิ่งทำให้ยุ่งเหยิงในระยะยาวได้ ที่จริงแล้วอารมณ์สามารถทำให้การออกกำลังกายของคุณเปลี่ยนจาก “ถูก” เป็น “ผิด” ไปเลยก็ได้เช่นกัน


ลองมาหาคำตอบตามหลักวิทยาศาสตร์เพื่อให้เข้าใจว่าเราสามารถใช้อารมณ์สร้างสรรค์การออกกำลังกายได้อย่างไร


เทสโทสเตอโรน – ฮอร์โมนเพศเองก็เป็นฮอร์โมนที่ยืดหยุ่น การออกกำลังกายหนักๆ เช่น การสควอทส์ การยกน้ำหนัก และการออกกำลังกับม้านั่งจะปล่อยฮอร์โมนเพศชายออกมาพร้อมกับฮอร์โมนอื่นๆ เทสโทสเตอโรนจะช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ มวลกล้ามเนื้อ และปรับสุขภาพจิต โดยพื้นฐานแล้ว แม้จะเป็นฮอร์โมนที่เพิ่มแรงขับทางเพศของผู้ชาย เทสโทสเตอโรนก็มีส่วนช่วยในการปรับอารมณ์ด้วย


การปล่อยเอ็นโดรฟินหลังการออกกำลังกาย – เอ็นโดรฟินมีหน้าที่ทำให้ร่างกายมนุษย์ตื่นซึ่งเรียกกันว่า “อารมณ์ดี” นอกจากนี้ยังช่วยให้ร่างกายออกกำลังกายเป็นเวลานานได้โดยไม่รู้สึกเหนื่อยล้า ขณะเดียวกันก็ช่วยให้จิตใจแข็งแรงขึ้นด้วย การออกกำลังกายเป็นประจำสามารถทำให้ร่างกายของคุณไวต่อการหลั่งเอ็นโดรฟิน หรือฮอร์โมนแห่งความสุข ดังนั้นคุณจะอารมณ์ดีขึ้นภายในไม่กี่นาที และมันจะเพิ่มขึ้นอีกเป็นสองเท่าเมื่อร่างกายรู้สึกสบายที่สุด


ผ่อนคลายอารมณ์ของคุณ – ในขณะที่คุณออกกำลังกายอย่างหนักในโรงยิมใกล้บ้าน เราอยากจะบอกว่าที่จริงแล้วการออกกำลังกายสนุกกว่านั้นมากเมื่อเอาการออกกำลังกายรูปแบบอื่นๆ เข้ามาแทรก แน่นอนว่ามันจะไม่น่าเบื่อ การออกกำลังกาย เช่น โยคะ (จับคู่กับการออกกำลังกายของคุณที่โรงยิม) จะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของร่างกายได้เยอะมากเพราะความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อนั้นเพิ่มขึ้น ดังนั้น คุณจึงสามารถเข้าสู่โหมด “เซน” ได้ราวกับเป็นราชินี


บอกลาอารมณ์ด้านลบไปซะ – อารมณ์ด้านลบทำให้โดพามีน ออกซิโตซิน เอ็นโดรฟิน และฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในร่างกายลดลง แต่ไม่ต้องกังวลใจไป การลดของฮอร์โมนเหล่านี้สามารถหยุดได้ด้วยการออกกำลังกาย และเมื่อคนรักการออกกำลังกายทุกคนทำได้ “ฮอร์โมนแห่งความสุข” จะกลับมาอีกครั้งในระยะเวลาอันสั้น


การ “แสดง” ไม่เท่ากับการ “ออกแรง” – แม้ว่าการออกกำลังกายจะเป็นวิธีช่วยให้ร่างกายทำงานได้ดี แต่การใช้ความพยายามมากเกินไปก็อาจทำลายร่างกายได้เช่นกัน การใช้งานร่างกายมากเกินไป เพียงเพื่อจะทำให้ตัวเองรู้สึก “ฟิน” เป็นสิ่งที่ห้ามทำเด็ดขาด ดังนั้น จงหลีกเลี่ยงการเข้าสู่โหมดออกกำลังกายที่เหมือนกับว่า “ฉันจะตายอยู่แล้ว”


การออกกำลังกายจะดีขึ้นหรือแย่ลง ขึ้นอยู่กับอารมณ์ของคุณด้วย จงเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด ในขณะที่คุณยังสามารถเลือกได้อยู่