การรู้ว่าคุณควรกินอย่างไร จะพาคุณไปสู่ร่างกายที่มีสุขภาพดี


คุณเบื่อกับเรื่องซ้ำเดิมไหม ไดเอ็ตแล้วไดเอ็ตอีก แล้วก็หมกหมุ่นแล้วหมกมุ่นอีก การทำตามเทรนด์ล่าสุดนั้นนอกจากจะยากแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ก็ไม่สม่ำเสมอ แล้วคุณจะทำอะไรได้? เอาล่ะ เริ่มต้นง่ายที่สุด – มาดูกันว่าคุณกินอะไร! แทนที่จะไปดูผลลัพธ์ระยะสั้นจากการไดเอ็ตในแบบต่างๆ มาลองเปลี่ยนวิธีการกินและความสัมพันธ์ของคุณกับอาหารดูไหมล่ะ? ที่คุณต้องทำก็คือเริ่มรับรู้ว่าคุณกินอะไรไปบ้างและคอยดู รับรู้ ว่าคุณกินอะไรไปบ้างและคอยดู ความคิด ต่อเรื่องอาหารที่คุณมี เริ่มจากถามตัวเองด้วยคำถาม 5 อย่างดังต่อไปนี้


คุณหิวจริงๆ หรือเปล่า?

เดี๋ยวก่อน ไอ้ความรู้สึกที่คุณเป็นอยู่ตอนนี้ที่ทำให้คุณอยากยัดอาหารเข้าปาก...มันคืออะไร? ร่างกายของคุณต้องการอาหารไหมหรือคุณแค่เบื่อ? บางที การกินก็เป็นเพียงการตอบสนองทางอารมณ์มากกว่าการที่ร่างกายของคุณต้องการสารอาหาร ลองอ่านเรื่อง ความหิวหกประเภท – และลองดูว่าความรู้สึกของคุณคืออะไรก่อนที่คุณจะเริ่มกินขนม


ความรู้สึกของคุณตอนนั้นคืออะไร?

เมื่อเรารู้แล้วว่าความหิวนั้นบางทีถูกกระตุ้นด้วยอารมณ์ เราก็ควรคิดต่อว่าเราจะหยุดความรู้สึกแบบนั้นได้อย่างไร อย่าเพิ่งถามว่าคุณอยากได้มันทอดไหมเพื่อตอบสนองความรู้สึกนั้น แต่ถามว่าคุณจะรับมือกับความรู้สึกนั้นอย่างไร ถ้าคุณเครียด ลองลุกไปออกกำลังกายแบบเร็วๆ แทนที่จะหยิบช็อกโกแลตมากิน ถ้าคุณเบื่อ ลองออกไปเดินสักหน่อยแทนที่จะเข้าไปรื้อครัวเพื่อหา “อะไรเบาๆ” มันไม่เคยเบาหรอก จริงไหม?


ทีนี้ เวลาคุณกิน คุณสนใจอะไร?

เรากินบ่อยมาก – ไม่ได้ล้อเล่นนะ – จนบางทีพอถึงมื้ออาหาร เราก็แค่กินไปเรื่อยๆ ลองดูว่ากิจวัตรคุณเป็นอย่างไร? จับอาหารวางๆ ใส่จานแล้วก็แค่กลืนให้หมด? การคิดถึงอาหารทั้งเรื่องว่าคุณกำลังกินอะไรและเมื่อเวลาที่คุณกิน จะช่วยสร้างความแตกต่างทางความคิดอย่างสิ้นเชิง ข้อแรก คุณจะ รู้ตัว ว่าคุณกินเยอะแค่ไหน คุณจะได้ไม่กินมากเกินไป การรับรู้ว่าคุณกำลัง เคี้ยว อาหารอยู่ยังช่วยให้ร่างกายรู้ว่าคุณกำลังกินเยอะแค่ไหน และช่วยให้คุณรู้ตัวเมื่อคุณอิ่มอีกด้วย

 

คุณมองอาหารบางประเภทอย่างไร?

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เรามักได้ยินข้อดีข้อเสียของอาหารบางประเภทมากจนทำให้เราสับสน ยกตัวอย่างเช่น คนมักคิดว่าคาร์บนั้นแย่กับคุณแต่ร่างกายต้องการคาร์บนะ! ความคิดแบบนี้ก็เกิดขึ้นกับไขมันและคอเลสเตอรอลเช่นกัน จริงๆ แล้วอยู่ที่ปริมาณที่คุณกินและการกินในปริมาณที่เหมาะสม การยอมรับว่าเรามีอคติกับอาหารอาจทำให้การกินของคุณเปลี่ยนไปเลยล่ะ

 

ทำไมคุณถึงชอบอาหารบางประเภท?

เราต่างมีเหตุผลที่ต่างกันไปในการกินอาหารต่างๆ – โดยมากมักเป็นรสชาติและรสสัมผัสที่เรานึกถึง ก็ถ้าคุณคิดถึงผักในเรื่องรสชาติมากกว่าสารอาหาร คุณก็อาจจะอยากกินผักมากขึ้น ไม่เชื่อเหรอ? มี งานวิจัย ที่พิสูจน์เรื่องนี้ไว้ด้วยนะ! ลองหาวิธีที่จะเปลี่ยนการรับรู้เรื่องอาหารของคุณเพื่อกระตุ้นให้คุณกินได้ดีต่อสุขภาพมากขึ้น